fbpx

วิธีเตรียมไฟล์งานก่อนพิมพ์

1. แนะนำให้ใช้โปรแกรมที่ไฟล์จะมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนัก และเป็นไฟล์ที่มีความละเอียดสูง อาทิเช่น Adobe Illustrator , Adobe Photoshop เป็นต้น

2. ใช้ระบบสี CMYK ในการผลิตไฟล์อาร์ทเวิร์ค เนื่องจาก งานพิมพ์ต่างๆนั้น จะใช้ระบบสีเป็นแบบ CMYK ซึ่งจะเป็นระบบสีที่ จะมีความถูกต้องใกล้เคียงกับ งานที่พิมพ์ออกมาจริงๆ มากที่สุด (RGB สีที่ออกมาจากเครื่องพรินท์ จะเพี้ยนมาก )

3.กำหนดขนาดของชิ้นงาน ให้มีอัตราส่วนที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น 1:1 แต่อย่างไรก็ตาม ไฟล์ดังกล่าวจะมี ขนาดใหญ่มากๆ ( เป็นไปได้ถึง หลายๆร้อยMB จนถึงเป็น GB ) เราจึงอาจกำหนดขนาดของตัวชิ้นงานลดหย่อนลงมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของตัวงานพิมพ์ที่เราต้องการจะได้ อัตราส่วนอาจจะเป็น 1:2 1:4 1:5 1:10 เป็นต้น ( ชิ้นงานโฆษณาขนาดใหญ่ๆมากที่เห็นกันทั่วๆไป มักจะใช้อัตราส่วนของตัวชิ้นไฟล์งานในคอมพิวเตอร์ ต่อขนาดของโปสเตอร์ที่ต้องการจริงๆ อัตราส่วน 1:10 กล่าวคือ ต้องการให้เห็นชิ้นงานโปสเตอร์ชัดในระยะห่างๆ ไม่ได้ต้องการความละเอียดในระยะใกล้ๆเท่าไรนัก

4. ลักษณะของไฟล์งาน ต้องระวังในเรื่องของ Font ยกตัวอย่างเช่น ไฟล์งาน AI ก็ควรจะ ทำการ Save โดยไม่ Compress ไฟล์ หรือบีบอัดไฟล์ และอาจทำการ Save Font ที่เลือกใช้มากับการส่งไฟล์งานด้วยอีกขั้นหนึ่ง และทำการ Include links ไฟล์มาให้ครบถ้วนด้วย นอกจากนั้นยังควรแนบ font และ รูปต่างๆ แนบมากับไฟล์งาน จะได้ไม่เสียเวลาหากมีการแก้ไขเล็กน้อย ก็สามารถ ให้ทางเราแก้ไขได้

5. ควรระวังในการขยายภาพที่นำมาจากที่อื่นเนื่องจากการนำภาพที่มีความละเอียดต่ำๆ มาขยาย อาจจะทำให้ไฟล์รูปดังกล่าวมี ความชัดเจนต่ำ และเกิดเป็นลักษณะภาพแตก ได้ และทำให้งานที่ออกมาดูไม่สวยงาม ซึ่งสาเหตุมาจากไฟล์งาน ไม่ใช่จากการพิมพ์

6. พึงระวังในตัวอักษรที่เราต้องการให้ออกมาปรากฏอยู่ในงานโปสเตอร์ ไม่ให้เล็กเกินไป และระวังอย่าขยายตัวอักษรในวิธีการของการขยายรูป แต่ให้ขยายในลักษณะของ Text เพื่อให้ไฟล์ตัวอักษรต่างๆ ไม่แตก และมีความคมชัด

7. ควรสั่งพิมพ์ตัวอย่างของไฟล์งานลงบนกระดาษ A4 แนบมากับการส่งไฟล์งานให้กับทางเรา เพื่อเป็นการดูตัวอย่างของงานในขั้นต้น (ป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในส่วนของตัวไฟล์งาน ) และเป็นการ ตรวจสอบไฟล์งาน เทียบกับการพิมพ์จริง

8. ควรทำการ create Outline ต้นฉบับที่จะใช้พิมพ์ (ป้องกัน Bad links หากไม่มั่นใจว่าแนบไฟล์มาด้วยทั้งหมด ) และควรทำ ไฟล์ Back-up สำรองอีกไฟล์ ก่อนที่จะทำการ create outline เผื่อไว้หากต้นฉบับมีปัญหา เกี่ยวกับการ create outline คือการแปลงไฟล์ fonts ที่เป็น text ให้ออกมาเป็น กราฟฟิคซึ่งมีความแน่นอนกว่า ซึ่งจะแก้ปัญหาในเรื่องของ font ไม่ตรงกัน ระบบปฏิบัติการ(OS) ไม่ตรงกัน และปัญหาเกี่ยวกับเรื่องฟอนท์อื่นๆ 

อย่างไรก็ตาม การ create outline จะทำให้ไฟล์งานมีขนาดใหญ่ขึ้น และไม่สามารถที่จะย่อขยายอักษรได้อีก (สัดส่วน ช่องไฟ ความชัดเจน ความคมชัด ของตัวอักษรจะเสียไป ) ดังนั้นท่านจึงควรจะ creat outline ต่อเมื่อผลิตงานอาร์ทเวิร์คเสร็จสมบูรณ์ แล้ว แล้วทำการ creat outline เป็นขั้นตอนสุดท้าย 

Leave a Comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.