Category: Knowledge
-
100 ชุดสี ที่นักออกแบบกราฟฟิกห้ามพลาด
สีนับเป็นองค์ประกอบที่สําคัญอย่างยิ่งในงานออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ การใช้สีที่ดีนั้น จะต้อง สื่อสารอารมณ์ ความรู้สึก สารและแนวคิดที่เราต้องการสื่อได้ แต่การใช้สีให้ดีนั้น ก็ถือว่ายากและเป็นสิ่งที่น่าปวดหัวเหมือนกันสําหรับนักออกแบบกราฟฟิก 01. FRESH & BRIGHT 02. SUBDUED & PROFESSIONAL 03. DARK & EARTHY 04. CRISP & DRAMATIC 05. COOL BLUES 06. OUTDOORSY & NATURAL 07. WATERY BLUE-GREENS 08. PRIMARY COLORS WITH A VIBRANT TWIST 09. REFRESHING & PRETTY 10. PLAYFUL GREENS & BLUES 11. FRESH & ENERGETIC 12. SURF & TURF 13. AUTUMN IN VERMONT 14. ICY BLUES AND GRAYS 15. BIRDS &…
-
9 วิธีหาแรงบันดาลใจมา ออกแบบโลโก้
เวลานักออกแบบได้โจทย์งาน ออกแบบโลโก้ มาสักชิ้นหนึ่งคุณจะเริ่มจากตรงไหนดี ? จะวาดแบบร่างเลยไหม หรือจะเลือกสีก่อน แต่มีมันคือโลโก้นะ โลโก้ที่มันจะต้องแฝงไปด้วยความหมายในทุกๆส่วนและเต็มเปี่ยมไปด้วยลักษณะเฉพาะตัว ถ้าเราอยู่ดีๆจะมานั่งวาดสเก๊ตโดยที่ไม่นึกถึงความหมายเลย โลโก้ที่เรากำลังออกแบบอยู่นั้นอาจจะไม่ทรงพลังก็ได้ แล้วที่นี้จะทำยังไงดีมองไปรอบๆตัวก็ไม่เจออะไรที่เป็นแรงบันดาลใจได้เลย จ้องกระดาษเปล่าเพื่อจะวาดก็คิดไม่ออก งั้นมาลองปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้แล้วคุณจะรู้ว่าการ ออกแบบโลโก้ ไม่ยากอย่างที่คุณคิดกับ 9 วิธีหาแรงบันดาลใจมา ออกแบบโลโก้ 1. ค้นหาจากเว็บไซต์ แรงบันดาลใจอยู่ใกล้แค่คลิก คุณลองเปิดเว็บเหล่านี้ดูได้เลย Logo Gala , Logo Moose , Dribbble.com , Deviantart แรงบันดาลในการ ออกแบบโลโก้ มีให้ดูหลากหลายสไตล์จนคุณตาลายเลยทีเดียวหรือคุณคิดว่ามันยังไม่ใช่มันดูไม่เหมาะกับคนไทยก็มีอีกวิธีคือการดู Portfolios ของเว็บไซต์สตูดิโอชั้นนำต่างๆของไทย ดูผลงานที่ผ่านมา แนวคิดแต่ละโปรเจคแล้วเราลองนำแนวความคิดเหล่านั้นมาปรับใช้ 2. นำประวัติมาออกแบบ ลองเอาประวัติเก่าๆของลูกค้ามาออกแบบบ้างก็ได้ เพราะหลายๆบริษัทที่ได้ก่อตั้งขึ้นย่อมมีประวัติที่ยาวนานอยู่แล้ว คุณอาจจะออกแบบโลโก้ให้ลูกค้าของคุณระลึกถึงประวัติอันเก่าแก่ของบริษัทก็ได้หรือในอดีตเค้าอาจจะมีโลโก้อยู่แล้วลองหยิบยกโลโก้ตัวนั้นมาดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยและหลักการออกแบบในปัจจุบัน 3. ออกแบบควบคู่กับวิสัยทัศน์ของลูกค้า ลองพูดคุยกับลูกค้าเกี่ยวกับแผนการในอนาคตหรือวิสัยทัศน์ต่างๆ เช่น ลูกค้าจะทำอะไร ค้าขายที่ไหน ขายอะไร ขายให้ใคร หรือมี ผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาบ้างรึเปล่า คุณต้องมองไปให้ไกลไม่ใช่แค่โลโก้ใช้แค่ 1 หรือ 2 ปี แล้วจะเปลี่ยนกันบ่อยการได้ฟังวิสัยทัศน์ต่างๆจะสามารถทำให้เราเห็นภาพได้ชัดขึ้นและสามารถ ออกแบบโลโก้ ให้ดีอย่างแน่นอน 4. โทรคุยกับเพื่อน บางทีความคิดเราอยู่กับโปรเจคมากจนเกินไปทำให้คิดไม่ออก คิดออกมาเท่าไหร่ก็วนอยู่แบบเดิม…
-
วัน-เวลา ที่ดีที่สุด ในการโพสต์ Social Media
วัน-เวลา ที่ดีที่สุดในการโพสต์ Social Media ทั้ง Facebook, Twitter, LinkedIn, Pinterest, Instagram และ Google+ สำหรับแบรนด์ และนักการตลาด คงทราบกันดีว่าการจะโพสต์คอนเท้นต์แต่ละอัน ต้องพิจารณามากแค่ไหน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด และต้องสร้างการมีส่วนร่วมได้มากที่สุด เมื่อได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว คุณยังต้องคิดต่อว่าจะโพสภาพ หรือวิดีโอดีกว่ากัน เพื่อให้ได้รับการตอบรับดีที่สุด เพราะถ้าโพสต์หลายครั้งในวันเดียว Engagement ก็จะยิ่งลดลง อีกทั้งยังทำให้ผู้บริโภคเกิดความรำคาญ QuickSprout จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ นำมาเป็น Infographic ให้เราได้นำไปปรับใช้กับการทำงาน Facebook วันที่เหมาะกับการโพสต์คอนเท้นต์ และสร้าง Engagement ได้ดีที่สุด คือ วันพฤหัส และวันศุกร์ เนื่องจากเป็นวันที่คนส่วนใหญ่กำลังทำงาน ในส่วนของวันอื่นๆ ก็เช่นกัน คุณสามารถโพสได้ แต่ Engagement จะลดลงประมาณ 3.5% โดยเฉพาะวันจันทร์ และวันพุธ ทั้งนี้ การโพสต์คอนเท้นต์นั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ หากถามว่าวันไหนดีที่สุด คำตอบคือ วันศุกร์ “เวลา” ที่ดีที่สุด 13.00 น. เป็นเวลาที่จะมีคน…
-
8 ข้อผิดพลาดของการออกแบบ
สิ่งที่ทำให้การออกแบบดีหรือไม่ดี จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก แต่ท้ายที่สุดงานที่ดีมักจะเป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชม สื่อสารได้ตรงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และส่งผลกระทบกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ส่วนงานที่ไม่ดี มักเป็นงานที่ซับซ้อนและการสื่อสารหลายประเด็นจนเกินไป 1. Perfect symmetry : ยึดติดกับสัดส่วนสมดุลที่สมบูรณ์แบบ! ความสมดุลเป็นหนึ่งในพื้นฐานหลักของการออกแบบ ความสมดุลทำให้เราสามารถสร้างตำแหน่งและองค์ประกอบของภาพและข้อความได้อย่างเหมาะสม ซึ่งความสมดุลของภาพไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป เพราะอาจทำให้งานดูน่าเบื่อ หลายๆครั้ง ความไม่สมดุลกลับสร้างความสมบูรณ์แบบให้งานดูน่าสนใจขึ้น เพราะความเป็นธรรมชาติเป็นเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. Not enough white space : พื้นที่ว่าง น้อยเกินไป! อีกหัวใจสำคัญของการออกแบบที่ขาดไม่ได้ คือ องค์ประกอบของภาพและพื้นที่ว่างควรอยู่ด้วยกันอย่างเหมาะสม การมีพื้นที่ว่างก็เพื่อนำสายตาให้ผู้ชมได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างภาพกับข้อความต่างๆ จุดที่ผิดพลาดบ่อยๆก็คือ การสร้างเนื้อหาเต็มทั้งหน้างาน จนทำให้คนดูไม่รู้จะเริ่มอ่านจากตรงไหนก่อนดี ฉะนั้นเราควรออกแบบให้งานมีพื้นที่ว่างพอ เพื่อให้คนอ่านได้พักสายตาบ้าง ได้หายใจพักบ้าง นี่ช่วยให้การสื่อสารเป็นลำดับมากขึ้น 3. Too little repetition : ภาพจำน้อยเกินไป! “การสร้างภาพจำ” เป็นส่วนสำคัญของการถ่ายทอดผลงาน ทั้งเรื่องสี วิธีการจัดวางองค์ประกอบ ความสัมพันธ์ของรูปแบบงานต่างๆ จะช่วยให้งานมีเอกลักษณ์มากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าให้เยอะจนเกินงามนะคะ เพราะคนดูจะเบื่อได้ กลายเป็นว่าทำให้เกิดภาพจำที่ไม่ดีกับงานซะแทน 4.…
-
เทคนิคการวางตัวหนังสือลงบนภาพให้สวยและอ่านง่าย
สวัสดีครับ เพื่อนๆ หลายคนคงมีปัญหาเวลาวางตัวหนังสือลงบนภาพกันกันอย่างแน่นอน วันนี้เลยจะมาแนะนำวิธีการวางยังไงให้สวยและยังอ่านออก รับรองว่านำไปใช้งานได้หลากหลายแน่นอนครับ เพราะการวางแบบนี้มันสื่ออารมณ์ของงานออกมาได้อยากดี แต่ควรระวังว่าภาพที่เรานำมาใช้ควรจะมีความคมชัดที่สูงพอด้วยนะ 1. เพิ่มความเปรียบต่าง (Contrast) และหว่างสีและความสว่าง เทคนิคนี้เป็นวิธีที่ง่ายและใช้งานได้กับเกือบทุกรูป และการเพิ่ม Contrast ปรับสี และปรับ Brightness จะมีข้อเสียตรงที่เราจะเสียความคมชัดของรูปไป เพราะเราจะต้องทำให้รูปมืดลง หรือมีการปรับสีของภาพให้เกิดความแตกต่างกับตัวหนังสือ ก่อนปรับภาพ หลังจากปรับภาพแล้ว จะสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาพแรกที่ยังไม่ได้ปรับ ตัวหนังสือสีขาวจะกลืนกับภาพ ส่วนภาพหลังผมได้ลองปรับให้มืดลงด้วยวิธีง่ายๆ ใน Photoshop คือการสร้าง Layer สีดำขึ้นมาและปรับ Opacity ลง แค่นี้ตัวหนังสือของเราจะเด่นขึ้นมาทันที ตัวอย่างอื่นๆ https://ayr.com/ http://anodpixels.com/ 2. เพิ่มความเปรียบต่าง (Contrast) ของขนาดและการจัดว่าง ถ้าเกิดเราไม่อยากปรับสีของภาพเพราะความคมชัดและรายละเอียดภาพที่ลดลง เราควรจะใช้วิธีจัดวางมันซะใหม่ หาที่เหมาะๆ เพื่อวางตัวหนังสือของเรา ภาพก่อนการปรับ จะเห็นได้ว่าตัวหนังสือแทบจะอ่านไม่ออก ลองย้ายทำแหน่ง เพิ่มขนาดสักนิด เด่นขึ้นมาแล้ว ตัวอย่างอื่นๆ http://www.themostnorthernplace.com/ http://eup.volkswagen.no/ 3. เล่นกับความคมชัด ชัดตื้น-ชัดลึก ของภาพ บางคนอาจจะไม่รู้ว่า…
-
5 เหตุผลที่ข้อมูลสำคัญกับการสร้างแคมเปญ
ในโลกยุคปัจจุบัน ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับวงการมาร์เกตติ้งและพีอาร์ ใครมีข้อมูลเจ๋งกว่าคนนั้นชนะ การศึกษาจาก Forbes Insights และ Turn ระบุว่า ผู้บริหารด้านมาร์เกติ้งกว่า 70% จะเชื่อถือข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินกลยุทธ์ในระยะเวลา 3 ปี ต่อไปนี้เป็น 5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณนำข้อมูลมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น 1.เพิ่มการใช้งานโซเชียลมีเดีย ด้วยแฟลตฟอร์มของโซเชียลมีเดียที่มีมากมายในทุกวันนี้ มันแทบเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้เลยที่แบรนด์จะไปปรากฏอยู่บนทุกสื่อข้างต้น ดังนั้นการเก็บข้อมูลว่าโซเชียลมีเดียอันไหนเข้ากับแบรนด์มากที่สุดและน่าจะไม่ก่อให้เกิดดราม่าตามมาภายหลัง 2.สร้างคอนเทนต์ที่ดีกว่าเดิม ในยุค content is king คุณสามารถทำวิจัยทั้งก่อนและหลังแคมเปญว่าผู้อ่านชื่นชอบสิ่งไหนเป็นพิเศษ ผลวิจัยระบุว่ากว่า 30% ของมาร์เกเตอร์ใช้ข้อมูลเพื่อวัดผลว่าแคมเปญไหนควรนำมาขยายหรือรีรันใหม่ ขณะที่กว่า 61% เห็นว่าแคมเปญที่ได้ผลมาจากข้อมูลจะมีค่า Return on Investment สูงขึ้น 3.เชื่อมต่อกับเทรนด์ใหม่ๆ ทุกวันนี้ใครๆ ก็ใช้โมบายในการเชื่อมโยง ติดต่อสื่อสาร อีเมล์ และเล่นโซเชียลมีเดีย และล่าสุด Google ยังเปลี่ยนอัลกอริธึมให้ผลการค้นหาเว็บที่เป็นมิตรกับโมบายขึ้นมาก่อนเพื่อน ข้อมูลช่วยให้คุณมองเห็นเทรนด์ในการใช้งานหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดได้มากมาย ลองสังเกตการขึ้นลงของตัวเลขและจับสัญญาณชีพจรของมันให้ถูก 4.การเล็งเป้าเป็นผู้อ่านออนไลน์ได้ผลสำเร็จง่ายกว่า 40% ของมาเกตเตอร์เลือกที่จะให้เครดิตกับแคมเปญที่ตั้งอยู่บนฐานของข้อมูล นอกจากนี้ยังเชื่อว่าข้อมูลที่ดีจะทำให้ผู้บริโภคจงรักภักดีต่อแบรนด์เพิ่มมากขึ้น 50% อีกด้วย…
-
-
สีโทนอุ่นและสีโทนเย็น
เราสามารถแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วนด้วยเส้นแนวดิ่งเส้นหนึ่ง ได้แก่สีวรรณะอุ่นคือเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) เหลืองส้ม ส้ม แดงส้ม แดง ม่วงแดง และม่วง อีกซีกคือสีวรรณะเย็นคือ สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เหลืองเขียว น้ำเงินเขียว น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน และม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง) โดยสีม่วงและสีเหลืองจะเป็นวรรณะกลางๆ คือถ้าอยู่ในสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย ถ้าอยู่ในกลุ่มเย็นก็จะเย็นด้วย credit : หนังสือ graphic design principles
-
ขนาดของกระดาษ
ขนาด A0 = 118.8×84 Cm. ขนาด A1 = 84×59.4 Cm. ขนาด A2 = 59.4×42 Cm. ขนาด A3 = 42×29.7 Cm. ขนาด A4 = 29.7×21 Cm. ขนาด A5 = 21×14.8 Cm. ขนาด A6 = 14.8×10.5 Cm.
-
ความรู้เรื่องภาษีป้าย
1. ความรู้ทั่วไป 1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษี ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น