fbpx

8 ข้อผิดพลาดของการออกแบบ

สิ่งที่ทำให้การออกแบบดีหรือไม่ดี จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก แต่ท้ายที่สุดงานที่ดีมักจะเป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชม สื่อสารได้ตรงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และส่งผลกระทบกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ส่วนงานที่ไม่ดี มักเป็นงานที่ซับซ้อนและการสื่อสารหลายประเด็นจนเกินไป

1. Perfect symmetry : ยึดติดกับสัดส่วนสมดุลที่สมบูรณ์แบบ!

fail_02

ความสมดุลเป็นหนึ่งในพื้นฐานหลักของการออกแบบ ความสมดุลทำให้เราสามารถสร้างตำแหน่งและองค์ประกอบของภาพและข้อความได้อย่างเหมาะสม ซึ่งความสมดุลของภาพไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป เพราะอาจทำให้งานดูน่าเบื่อ หลายๆครั้ง ความไม่สมดุลกลับสร้างความสมบูรณ์แบบให้งานดูน่าสนใจขึ้น เพราะความเป็นธรรมชาติเป็นเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Not enough white space : พื้นที่ว่าง น้อยเกินไป!

fail_03

อีกหัวใจสำคัญของการออกแบบที่ขาดไม่ได้ คือ องค์ประกอบของภาพและพื้นที่ว่างควรอยู่ด้วยกันอย่างเหมาะสม การมีพื้นที่ว่างก็เพื่อนำสายตาให้ผู้ชมได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างภาพกับข้อความต่างๆ

จุดที่ผิดพลาดบ่อยๆก็คือ การสร้างเนื้อหาเต็มทั้งหน้างาน จนทำให้คนดูไม่รู้จะเริ่มอ่านจากตรงไหนก่อนดี ฉะนั้นเราควรออกแบบให้งานมีพื้นที่ว่างพอ เพื่อให้คนอ่านได้พักสายตาบ้าง ได้หายใจพักบ้าง นี่ช่วยให้การสื่อสารเป็นลำดับมากขึ้น

fail_04

 

3. Too little repetition : ภาพจำน้อยเกินไป!

fail_05

“การสร้างภาพจำ” เป็นส่วนสำคัญของการถ่ายทอดผลงาน ทั้งเรื่องสี วิธีการจัดวางองค์ประกอบ ความสัมพันธ์ของรูปแบบงานต่างๆ จะช่วยให้งานมีเอกลักษณ์มากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าให้เยอะจนเกินงามนะคะ เพราะคนดูจะเบื่อได้ กลายเป็นว่าทำให้เกิดภาพจำที่ไม่ดีกับงานซะแทน

4. Center-aligning text : การจัดเรียงตำแหน่งข้อความ

fail_06

ความผิดพลาดของนักออกแบบมือใหม่  คือ การจัดวางข้อความแบบกึ่งกลางที่ไม่ชวนให้น่าอ่าน หรือการเคาะบรรทัดแบบผิดๆถูกๆ ทำให้ยากต่อการอ่าน และปัญหาใหญ่คือเกิดความเข้าใจผิดของข้อมูล  ซึ่งการจัดตำแหน่งตัวหนังสือที่ดีควรชิดขอบซ้าย หรือ ชิดขอบขวา เพื่อให้อ่านง่ายที่สุด เพราะนี่เป็นธรรมชาติการอ่านของสายตามนุษย์

5. Too much text in one line : ตัวหนังสือเยอะเกินไปในหนึ่งบรรทัด

fail_07

การวางตัวหนังสือเป็นข้อความยาวๆ ถือว่าผิดพลาดมาก เพราะจะทำให้คนอ่านเกิดความเมื่อยล้าและไม่อยากอ่านต่อ การวิจัยพบว่า การอ่านที่ดีที่สุดอยู่ระหว่าง 45-75 ตัวอักษรต่อบรรทัด (จำนวนนี้รวมถึงตัวเคาะเว้นวรรคแล้วด้วยนะคะ)

6. Poor kerning : การจัดช่องไฟที่ผิดพลาด

fail_08

ไม่ใช่แค่การเคาะช่องว่างระหว่างคำ แต่การจัดช่องไฟระหว่างตัวอักษรในคำเดียวกันก็มีความสำคัญอย่างมาก ถ้าใช้ช่องไฟชิดเกินไป จะทำให้ข้อความง่ายๆกลายเป็นคำดูอึดอัดซับซ้อนจนอ่านยาก

7. Font and color overkill : แบบตัวอักษรและสี ฆ่างานคุณได้!

fail_09

ความตรงกันข้าม (Contrast) เป็นกฎของการออกแบบที่รู้กันว่ามันทำให้งานออกแบบของคุณมีความโดดเด่นและแตกต่าง ซึ่งช่วยให้งานคุณดูน่าสนใจขึ้น  ดีไซน์เนอร์สามารถใช้ความแตกต่างกัน ทั้ง สี, รูปแบบอักษร, พื้นผิว, ขนาด, และรูปร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างจุดแตกต่างในไอเดีย แต่ต้องระวังว่าต้องไม่ขัดแย้งกันจนเยอะเกินไป ทำให้ผลที่ออกมาทุกอย่างดูเด่นไปหมด ไม่มีน้ำหนักที่เหมาะสม

ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณออกแบบงานชิ้นใหญ่ เช่น งานป้าโฆษณา(Billboard) สิ่งแรกที่คนจะเห็นในเวลาสั้นๆ คือ ส่วนที่เป็นจุดเด่น หรือส่วนที่แตกต่างที่สุดในงานและสีที่ใช้ ดังนั้นข้อความที่สำคัญควรเป็นตัวอักษรที่สังเกตุได้ง่าย  ก่อนจบงานอย่าลืมตรวจสอบว่าในหนึ่งชิ้นงานของคุณนั้นไม่ใช้สีเยอะเกินไป เพราะจะทำให้งานดูเลอะเทอะ และไม่มีจุดน่าสนใจในที่สุด!

ถ้าคุณกำลังมองหาแบบอักษรดีๆลองคลิกที่ Lightbox “Fun Fonts”
หากต้องการตัวช่วยในการเลือกสีโดนๆ ลองใช้เครื่องมือ Palette ของShutterstock ที่ช่วยให้คุณสามารถค้นหาภาพจากจานสีได้อย่างง่ายๆ

8. Using rasters : การใช้ภาพแบบRaster

fail_10

อีกเรื่องที่เหล่านักออกแบบมักจะผิดพลาดอยู่บ่อยๆก็คือ การใช้ภาพRaster คือภาพอยู่ในรูปแบบของ JPEGs, TIFFs, GIFs, BMPs และ PNGs เมื่อเราทำการขยายภาพเหล่านี้ เท่ากับว่าเรากำลังยืดพิกเซล และทำให้ภาพถูกขยายแต่ความคมชัดของภาพลดลง ในขณะที่ภาพVecter สามารถเพิ่มลดขนาดได้ตามต้องการ โดยไม่สูญเสียคุณภาพและความคมชัด เนื่องจากภาพแบบVectorนั้นเกิดขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิตที่มีการเชื่อมต่อกันเป็นจุดต่อจุดจนกลายเป็นภาพที่คมชัด ซึ่งใน Shutterstock เราเป็นแหล่งรวบรวมภาพVectorsที่ใหญ่ที่สุดในโลกในธุรกิจคลังภาพ(stock photo)ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เหล่านักออกแบบจะได้แรงบันดาลใจและไฟล์ภาพที่มีคุณภาพสูงจากShutterstockนี้ !

หวังว่า 8 ข้อผิดพลาดของการออกแบบนี้ จะช่วยให้นักออกแบบไทยสร้างสรรค์ผลงานดีๆสู่สายตาชาวโลกได้อย่างเต็มภาคภูมินะครับ!

 

 

Credit : http://pantip.com/topic/33642626 ,  http://www.number24.co.th/

หากต้องการภาพShutterstock สามารถติดต่อตัวแทน Shutterstock ประเทศไทยอย่างถูกต้องและเป็นทางการได้ที่

Number 24 Co., Ltd. (www.number24.co.th) หรือ Email :  shutterstock@number24.co.th

Leave a Comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.