Month: June 2013

  • การผสมสี

    การผสมสี

    การผสมสีสำหรับนักออกแบบกราฟิกมีอยู่ 2 แบบ คือ CMYK และ RGB การผสมสีแบบRGB หรือการผสมสีแบบบวก คือการผสมสีของแสงโดยใช้แม่สีเป็นตัวผสมคือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แบบนี้เราจะพบในกรณีของการผสมสีในโทรทัศน์ จอมอนิเตอร์ ซึ่งเป็นการผสมสีที่จำเป็นสำหรับนักออกแบบเว็บไซด์ ซึ่งจะต้องเตรียมภาพในระบบที่เรียกว่าRGB การผสมสีแบบCMYK หรือการผสมสีแบบลบ คือการผสมกันของสีชนิดที่สะท้อนออกมาจากตัววัตถุเอง เช่น สีของแร่องค์ ประกอบ โดยเกิดจากหลักการที่ว่าในแสงนั้นมีสีต่างๆ รวมกันอยู่ทุกสีแต่ได้ผสมกันจนเห็นเป็นสีขาว  แล้วเมื่อแสงสีขาวกระทบกับวัตถุที่มีสีวัตถุนั้นก็จะดูดสีทั้งหมดของแสงไว้ และสะท้อนสีที่เหมือนกับตัววัตถุเองออกมาสะท้อนเข้าตามนุษย์ ถ้าเป็นวัตถุสีขาวจะสะท้อนมาทุกสี   การผสมสีแบบมีแม่สีคือ สีฟ้าแกมเขียว สีม่วงแดง สีเหลือง ซึ่งเมื่อผสม 3 สีนี้จะเป็นสีดำ เพราะแสงดูดกลืนไว้หมด หลักการนี้นำไปใช้ในการผสมสีของแม่สี คือ สีฟ้าแกมเขียว สีม่วงแดง สีเหลือง แต่เพิ่มสีดำอีกสีหนึ่งแล้วผสมกันจนเป็นโทนต่างๆ ด้วยการใช้เม็ดสกรีน ทำให้ได้สีสันสมจริงซึ่งเป็นการผสมสีสำหรับนักออกแบบที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะต้องเตรียมภาพในระบบที่เรียกว่า CMYK

  • กำหนด Resolution อย่างไรดี

    กำหนด Resolution อย่างไรดี

    ในการใช้งานทั่วๆ ไปเรามักกำหนดความละเอียดของงานหรือค่า Resolution อยู่ที่ 100-1150 ppi (pixels/inch) แต่สำหรับการทำงานเกี่วกับเว็บไซค์นั้นเราจำเป็นต้องใช้งานที่มีความละเอียดน้อยเพื่อให้มีการแสดงผลที่รวดเร็ว จึงมักใช้ค่า Resolution = 72 dpi สำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์เรามักจะกำหนดค่า Resolution อยู่ที่ 300-350 dpi เพราะต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง เช่น งานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานนิตรสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ และสมุดภาพเป็นต้น ผมขอแนะนำวิธีการกำหนด Resolution กับงานพิมพ์เบื้องต้นดังนี้ ขนาดของชิ้นงานต่ำกว่า ขนาด 100×100 cm. ให้กำหนดที่ 300 dpi ขนาดของชิ้นงานมากกว่ากว่า ขนาด 100×100 cm. ไม่เกิน 200×300 ให้กำหนดที่ 150 dpi ขนาดของชิ้นงานมากกว่ากว่า ขนาด 200×300 cm. ไม่เกิน 300×500 ให้กำหนดที่ 100 dpi ขนาดของชิ้นงานมากกว่า ขนาด 300×500…

  • ความแตกต่างของ RGB กับ CMYK

    ความแตกต่างของ RGB กับ CMYK

    RGB (สีของแสง) สีของแสง (Colored Light) คือ ความแตกต่างสั้นยาวของคลื่นแสงที่เรามองเห็น เริ่มจากสีม่วงไปสีแดง แสงสีขาวที่เรามองเห็นนั้น เกิดจากแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันมารวมตัวกัน เกิดเป็นสีต่างๆ เรียกว่า สีแบบบวก (Additive Color)หรือ ระบบสี RGB ซึ่งเป็นสีที่เกิดจาก การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing) สีของแสงประเภทนี้ ได้แก่ สีแสงในจอมอนิเตอร์ จอโทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป ฯลฯ การทำงานเกี่ยวกับเว็บ พรีเซนเทชันที่ต้องใช้โปรเจ็กเตอร์ ฯลฯ นักออกแบบจะต้องเตรียมภาพในโหมด RGB (RGB mode) CMYK (สีของสาร) สีของสาร (Colored Pigment) คือ สีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่างๆ เกิดจากการดูดซึมและสะท้อนของคลื่นแสง สีแบบลบ (Subtractive Color) เป็นสีที่เกิดจากการสะท้อนจากวัตถุ คือ เมื่อมีลำแสงสีขาว ตกกระทบวัตถุสีต่างๆ คลืนแสงบางส่วนจะดูดกลืนไว้ และสะท้อนเพียงบางสีออกมา จึงเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing) สีแบบลบที่นำไปใช้ในการทำงานศิลปะ ได้แก่ สีแบบลบ (สีโปร่งแสง) หรือ…

  • สีโทนอุ่นและสีโทนเย็น

    สีโทนอุ่นและสีโทนเย็น

    เราสามารถแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วนด้วยเส้นแนวดิ่งเส้นหนึ่ง ได้แก่สีวรรณะอุ่นคือเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) เหลืองส้ม ส้ม แดงส้ม แดง ม่วงแดง และม่วง อีกซีกคือสีวรรณะเย็นคือ สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เหลืองเขียว น้ำเงินเขียว น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน และม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง) โดยสีม่วงและสีเหลืองจะเป็นวรรณะกลางๆ คือถ้าอยู่ในสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย ถ้าอยู่ในกลุ่มเย็นก็จะเย็นด้วย credit : หนังสือ graphic design principles